![]() ![]() |
ทีมสุขภาพ (Health Team)
หมายถึง ทีมภายในหน่วยงานเดียวกัน ( รพ.
รพ. , รพ.สต.
รพ.สต. , ทีมระหว่างหน่วยงาน (รพ.
รพ.สต.) ,
ทีมแนวตั้งและทีมแนวราบ และ/หรือ ทีมข้ามสายงาน (ภาคีภาคส่วนต่างๆ)
1) | มีแนวทางที่จะทำงานร่วมกัน และดำเนินงานตามหน้าที่ในส่วนที่รับผิดชอบ |
2) |
มีการทำงานร่วมกัน เป็นทีมในบางประเด็น และ/หรือ มีภาคีภาคส่วนร่วมด้วย |
3) |
Cross Functional เป็น team ระหว่างฝ่ายคิดวางแผน และดำเนินการร่วมกันโดยมีภาคีภาคส่วนร่วมด้วยบางส่วน |
4) | Fully Integrate เป็นโครงข่ายทีมเดียวกันทั้งแนวตั้งและแนวราบ โดยมีภาคีภาคส่วนร่วมด้วย |
5) | ชุมชน ภาคีภาคส่วนต่างๆ ร่วมเป็นทีมกับเครือข่ายสุขภาพ ในทุกประเด็นสุขภาพสำคัญ |
ความต้องการของประชาชนและผู้รับบริการ
หมายถึง ประเด็นปัญหาหรือประเด็นพัฒนา ที่ประชาชนและผู้รับบริการจำเป็นต้องได้รับโดยหมายรวมทั้งในส่วนของ
felt need
เช่น การรักษาฟื้นฟู และ unfelt need เช่น บริการส่งเสริมป้องกัน
1) | มีช่องทางในการรับรู้และเข้าใจความต้องการของประชาชนและผู้รับบริการเป็นแบบ reactive |
2) | มีช่องทางในการรับรู้และเข้าใจความต้องการของประชาชน และผู้รับบริการที่หลากหลาย อย่างน้อยในกลุ่มที่มีปัญหาสูง |
3) | มีช่องทางการรับรู้และเข้าใจความต้องการของประชาชนและผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม ครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ และนำมาแก้ไข ปรับปรุงระบบงาน |
4) | มีการเรียนรู้และพัฒนาช่องทางการรับรู้ความต้องการของประชาชนแต่ละกลุ่ม ให้สอดคล้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น |
5) | ความต้องการของประชาชนและผู้รับบริการ ถูกนำมาบูรณาการกับระบบงานต่างๆ จนทำให้ประชาชนเชื่อมั่น ศรัทธา ผูกพัน และมีส่วนร่วมกับเครือข่ายบริการปฐมภูมิ |
1) | มีแนวทาง หรือเริ่มให้ชุมชน และภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านสุขภาพ |
2) | ดำเนินการให้ชุมชนและภาคีเครือข่าย ร่วมรับรู้ ร่วมดำเนินการด้านสุขภาพ ในงานที่หลากหลายและขยายวงกว้างเพิ่มขึ้น |
3) | ชุมชนและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมคิด ร่วมดำเนินการด้านสุขภาพอย่างเป็นระบบกับเครือข่ายบริการปฐมภูมิและมีการขยาย วงได้ค่อนข้างครอบคลุม |
4) | ชุมชน และภาคีเครือข่ายร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการด้านสุขภาพ และมีการทบทวน เรียนรู้ ปรับปรุงกระบวนการ มีส่วนร่วมให้เหมาะสมมากขึ้น |
5) | ชุมชน และภาคึเครือข่ายร่วมดำเนินการอย่างครบวงจร รวมทั้งการประเมินผลจนร่วมเป็นเจ้าของการดำเนินงานเครือข่ายปฐมภูมิ |
ความผูกพัน (Engagement) หมายถึง การที่บุคลากรมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานในหน้าที่ และในงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความมุ่งมั่น เพื่อให้บรรลุพันธกิจขององค์กร
1) | มีแนวทาง หรือวิธีการที่ชัดเจน หรือเริ่มดำเนินการในการดุแล พัฒนา และสร้างความพึงพอใจของบุคลากร |
2) | มีการขยายการดำเนินการตามแนวทางหรือวิธีการในการดูแลพัฒนา และสร้างความพึงพอใจของบุคลากรเพิ่มขึ้นในแต่ละหน่วยงาน หรือในแต่ละระดับ |
3) | ดำเนินการตามแนวทาง หรือวิธีการดุแลพัฒนา และสร้างความพึงพอใจและความผูกพัน (Engagement) ของบุคลากรให้สอดคล้อง กับภารกิจที่จำเป็นอย่างเป็นระบบ |
4) | เครือข่ายสุขภาพมีการเรียนรู้ ทบทวนกระบวนการดุแลพัฒนา และสร้างความผูกพันของบุคลากรให้สอดคล้องกับบริบท |
5) | สร้างวัฒนธรรมเครือข่ายให้บุคลากรมีความสุข ภูมิใจ รับรู้คุณค่าและเกิดความผูกพันในงานของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ |
Resource หมายถึง คน เงิน ของ ความรู้ รวมทั้งข้อมูล ซึ่งเป็นปัจจัยนำเข้า (Input) ของการทำงาน
1) | มีแนวทาง หรือเริ่มวางแผนการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และพัฒนาบุคลากรร่วมกันเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน |
2) | มีการดำเนินการร่วมกันในการใช้ทรัพยากรและพัฒนาบุคลากรในบางประเด็นหรือบางระบบ |
3) | มีการจัดการทรัพยากรและพัฒนาบุคลากร ร่วมกันอย่างเป็นระบบและครอบคลุม ตามบริบทและความจำเป็นของพื้นที่ เพื่อสนับสนุน ให้บรรลุตามเป้าหมายของเครือข่ายสุขภาพ |
4) | มีการทบทวนและปรับปรุงการจัดการทรัพยากร และพัฒนาบุคลากรให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น |
5) | มีการจัดการทรัพยากรร่วมกันโดยยึดเป้าหมายของเครือข่ายสุขภาพ (ไม่มีกำแพงกั้น) และมีการใช้ทรัพยากรจากชุมชน ส่งผล ให้เกิดระบบสุขภาพชุมชนที่ยั่งยืน |
Essential Care หมายถึง บริการด้านสุขภาพที่จำเป็นสำหรับประชาชน โดยสอดคล้องกับบริบทของชุมชนและเป็นไปตามศักยภาพของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
1) | มีแนวทาง หรือเริ่มดำเนินการจัดระบบดูแลสุขภาพพื้นฐานที่จำเป็นในแต่ละกลุ่มตามบริบทของชุมชน |
2) | มีการจัดระบบดูแลสุขภาพตามบริบทและตามความต้องการของผู้รับบริการ ประชาชน และชุมชนบางส่วนโดยเฉพาะกลุ่มที่มีปัญหาสูง |
3) | มีการจัดระบบดูแลสุขภาพตามบริบท ตามความต้องการของผู้รับบริการ ประชาชนแต่ละกลุ่ม และชุมชนที่ครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ |
4) | มีการเรียนรู้ ทบทวน การจัดระบบดูแลสุขภาพ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการดุแลสุขภาพที่เหมาะสม สอดคล้องมากขึ้น |
5) | มีการจัดระบบดูแลสุขภาพอย่างบูรณาการร่วมกับประชาชน ชุมชน ภาคึภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ประชาชนมีสถานะุสุขภาพดี |
กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี โทรศัพท์ : 0 5651 1565 ต่อ 304 โทรสาร. 0 5651 1327 |